ระบบคลังสินค้า


บริษัทโลติ๊ส จำกัด


ขั้นตอนที่ 1
แนวทางการพัฒนาระบบคลังสินค้า

การประเมินแนวทางเลือกที่ 1
ทางทีมงานได้ทาการประเมินผลแนวทางเลือกซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม โดยกำหนดเกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน) เชิงปริมาณเปรียบเทียบไว้เป็น 4 ระดับ ดังนี้
น้ำหนักเท่ากับ 4 ช่วงคะแนน 100-90 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดีมาก
น้ำหนักเท่ากับ 3 ช่วงคะแนน 89-70 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดี
น้ำหนักเท่ากับ 2 ช่วงคะแนน 69-50 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ พอใช้
น้ำหนักเท่ากับ 1 ช่วงคะแนน 49-30 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ปรับปรุง

ทีมงาน/ซอฟต์แวร์

เปรียบเทียบการใช้น้าหนัก( คะแนนเต็ม10 )
หาซื้อ Software A
หาซื้อ Software B
หัวหน้าทีม(นักวิเคราะห์ระบบ)
2
2
โปรแกรมเมอร์ 1
3
3
โปรแกรมเมอร์ 2
4
2
รวม
9
7
คิดเป็นเปอร์เซ็นต์
90 %
70 %
เกณฑ์ที่ได้
ดีมาก
ดี

สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่ 1

สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกและคัดเลือกซื้อ Software A มาใช้งาน เนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด



การประเมินแนวทางเลือกที่ 2
ทางทีมงานได้ทาการประเมินผลแนวทางเลือกว่าจ้างบริษัทภายนอกเพื่อพัฒนาระบบ ที่เหมาะสม โดยกำหนดเกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน) เชิงปริมาณเปรียบเทียบไว้เป็น 4 ระดับ ดังนี้
น้ำหนักเท่ากับ 4 ช่วงคะแนน 100-90 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดีมาก
น้ำหนักเท่ากับ 3 ช่วงคะแนน 89-70 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดี
น้ำหนักเท่ากับ 2 ช่วงคะแนน 69-50 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ พอใช้
น้ำหนักเท่ากับ 1 ช่วงคะแนน 49-30 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ปรับปรุง

ทีมงาน/ซอฟต์แวร์

เปรียบเทียบการใช้น้ำหนัก( คะแนนเต็ม10 )
ว่าจ้างบริษัทติดตั้งระบบ A
ว่าจ้างบริษัทติดตั้งระบบ B
หัวหน้าทีม(นักวิเคราะห์ระบบ)
3
2
โปรแกรมเมอร์ 1
3
2
โปรแกรมเมอร์ 2
3
2
รวม
9
6
คิดเป็นเปอร์เซ็นต์
90
60
เกณฑ์ที่ได้
ดีมาก
พอใช้

สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่ 2
สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกและคัดเลือกว่าจ้างบริษัทติดตั้งระบบ A มาใช้งาน เนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด

ทางเลือกที่ 2 : ว่าจ้างบริษัทภายนอกที่พัฒนาระบบ มีรายละเอียดดังตารางต่อไปนี้


การประเมินแนวทางเลือกที่ 3
                ไม่มีการประเมิน เพราะไม่มีการเปรียบเทียบ
สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่ 3
         ทางทีมงานพิจารณาแล้วว่า มีขีดความสามารถที่จะพัฒนาระบบได้ตามข้อกำหนดคุณสมบัติทางเทคนิคและความต้องการของผู้ใช้งานตามที่จัดทำโดยใช้ระยะเวลาดำเนินการจำนวนทั้งสิ้น 5 เดือนและมีค่าใช้จ่ายในการดำ เนินงานจำนวนเงินทั้งสิ้น 220,000 บาท (ค่าเงินเดือน ค่าอุปกรณ์ ค่าล่วงเวลา และค่าสำรองฉุกเฉิน เป็นต้น)


เปรียบเทียบแนวทางเลือกทั้งสาม

                ผลจากการพิจารณาแนวทางเลือกของทีมงานจากทั้งสามแนวทางจะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของผู้บริหารเพื่อพิจารณาเลือกแนวทางตามที่ได้นำเสนอจากทีมงานพัฒนาพร้อมข้อเสนอแนะในแต่ละแนวทางเลือกหลักทั้งสาม โดยมีรายละเอียดดังตาราง  ต่อไปนี้


ตารางเปรียบเทียบการพิจารณาแนวทางเลือกทั้งสามแนวทาง
ผู้บริหารเลือกแนวทางที่ดีที่สุด

                หลังจากหัวหน้าทีมงานได้เสนอแนวทางเลือก โดยจัดทำข้อมูลเปรียบเทียบและข้อเสนอแนะแก่ทีมผู้บริหาร โดยใช้กฎเกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน)   ดังตารางต่อไปนี้
ตารางการเปรียบเทียบการให้คะแนนทั้งสามแนวทาง


สรุปผลการประเมินโดยทีมงานผู้บริหาร

                ทางทีมงานผู้บริหารได้พิจารณาตัดสินใจเลือกแนวทางใช้ทีมงานเดิมพัฒนาและติดตั้ง เนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด นอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและความคุ้มค่าในการลงทุนแล้ว ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีของพนักงานภายในบริษัท พร้อมทั้งได้กำหนดมาตรการและมอบหมายแก่ผู้บังคับบัญชาโดยตรง คอยควบคุมดูแลทีมงานพัฒนาให้ดำเนินการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ


ขั้นตอนที่ 2
การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ
เป้าหมาย
นำระบบสาระสนเทศเพื่อการพัฒนาระบบการคลังในบริษัทเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ในการตรวจสอบสินค้าและสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าและสร้างความไว้วางใจให้แก่ลูกค้าในสินค้าและบริษัทของเรา

วัตถุประสงค์
        เพื่อนำระบบใหม่มาแก้ไขปัญหาต่างๆให้มากที่สุดและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และความสมัยใหม่ของระบบเพื่อนทันต่อการใช้งานรวมไปถึงตรวจสอบสินค้าให้ได้มาตรฐาน ถูกต้อง ว่องไวตรงตามความต้องการ
ขอบเขตของระบบ
    โครงการพัฒนาระบบการการพัฒนาระบบการคลัง ของบริษัทได้มีการจัดทำขึ้นโดยใช้ทีมงามเดิมพัฒนาและติดตั้งระบบมารับผิดชอบโครงการ พร้อมกันนี้ได้กำหนดขอบเขตของระบบนี้มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.เป็นระบบที่ต้องมีความแม่นยำในการทำงาน

              2. ระบบที่มีความละเอียดแต่หาได้ง่าย
              3. มีความผิดพลาดในการทำงานให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
              4. ระบบมีการจัดแบ่งส่วนต่างๆอย่างชัดเจนคบถ้วน มีความสะดวกต่อการค้นหา
              5. ระบบจะต้องมีการจัดแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วน และง่ายต่อการค้นหา

                6.ระบบจะต้องรองรับการทางานแบบ Multi-User ได้
ปัญหาของระบบเดิม 

                1. ระบบมีการทำงานที่ซับซ้อน จึงยากต่อการตรวจสอบ
                2. ข้อมูลของระบบมีการขาดหายไปบ้างในบางส่วน
                3. บิลรายการสินค้าตรวจสอบได้ยาก
                4. สินค้าตกหล่น สินค้ามาไม่ครบตามจำรวนที่สั่ง
                5. เอกสารการเบิกจ่าย เงิน หรือ อุปกรณ์มีปัญหา
                6. ข้อมูลของระบบมีจำนวนมาก จึงยากต่อการค้นหา

                7. มีความซับซ้อนในการทำงานเรื่องการเบิกจ่ายและการสั่งซื้อสินค้า

ความต้องการของระบบใหม่ 
1. มีการจักระบบให้เป็นหมวดหมู่ ค้นหาง่ายมากขึ้น

2. มีจัดเก็บข้อมูลที่สำคัญ ไม่เก็บข้อมูลขยะไว้เพื่อมีพื้นที่ในการเก็บข้อมูลได้มากขึ้น
3. มีการจับเก็บบิลสินค้ารายการต่างๆไว้อย่างดี

4. แยกสินค้าตามประเภทสินค้าเพื่อง่ายต่อการค้าหาและการเช็ค

5. สามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว

ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบใหม่
1. ลดระยะเวลาในการทำงาน
2. ลดความซ้ำซ้อนกันของการทำงาน

3. บริษัทมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น
4. การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
5. ข้อมูลมีความถูกต้องแม่นยำและไม่ซ้ำซ้อน
6. ตรวจสอบสินค้าในคลังได้ถูกต้องทำให้การสั่งซื้อและขายสินค้าไม่มีปัญหา

· การทำงานของพนักงานเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
· ลดระยะเวลาในการทำงาน
แนวทางในการพัฒนา

                ทางบริษัทได้เลือกโครงการพัฒนาระบบจดซื้อเพื่อให้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จึงต้องพิจารณาถึงขั้นตอนการดำเนินงานให้เหมาะสมกับบริษัทสามารถแบ่งได้ทั้งหมด 7 ขั้นตอนดังนี้
                1. การค้นหาและเลือกสรรโครงการ

                2. การเริ่มต้นและการวางแผนโครงการ
                3. การวิเคราะห์ระบบ
                4. การออกแบบเชิงตรรกะ
                5. การออกแบบเชิงกายภาพ
                6. การพัฒนาและติดตั้งระบบ
                7. การซ่อมบำรุงระบบ
ขั้นตอนที่  1 การค้นหาและเลือกสรรโครงการ ( Project Identification and Selection )
            เป็นขั้นตอนในการค้นหาโครงการเพื่อพัฒนาระบบใหม่ให้เหมาะสมกว่าระบบเดิมในเรื่องการเปลี่ยนแปลง แก้ไขข้อมูล หรือต้องการระบบใหม่เพื่อนำมาใช้ในการบริหารงานในส่วนที่เกิดความบกพร่องของบริษัท  เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดและความรวดเร็วในการทำงานของบริษัท

                 ดังนั้นจึงได้ยกตัวอย่างบริษัทที่ต้องการพัฒนาระบบคือบริษัท โลติ๊ด จำกัด ข้อมูลดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  ในส่วนของระบบที่ต้องการแก้ไขคือ
               1.ระบบบัญชี

   2.ระบบบุคลากร
   3.ระบบการคลัง
  
ขั้นตอนที่  2  การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ

                เป็นขั้นตอนในการเริ่มต้นทำโครงการด้วยการเริ่มต้นจัดตั้งทีมงาน    ซึ่งเราจะต้องกำหนดหน้าที่ให้กับทีมงานแต่ละคนอย่างชัดเจนเพื่อร่วมกันสร้างแนวทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้งานและนอกจากขั้นตอนดังกล่าวแล้วยังมีขั้นตอนอื่นอีกมากที่เกี่ยวข้องซึ่งเราสามารถสรุปกิจกรรมในขั้นตอนนี้ได้ดังนี้
                1. เริ่มต้นทำโครงการ ศึกษาระบบการทำงานของระบบเดิมดูก่อน เพื่อดูขั้นตอนการทำงาน หรือหาข้อผิดพลาดของระบบ
                2. กำหนดวัตถุประสงค์ในการนำระบบใหม่มาใช้
                3. วางแผนการทำงานของระบบใหม่

ขั้นตอนที่  3  การวิเคราะห์
                1. ศึกษาขั้นตอนการทำงานของระบบเดิมดูว่าการทำงานของระบบเดิมมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้อย่างไร และเหตุใดจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบเดิมและระบบที่เปลี่ยนแปลงนี้จะเปลี่ยนในส่วนของระบบพัสดุ
                2.การรวบรวมความต้องการเปลี่ยนแปลงของระบบใหม่ จากผู้ใช้ระบบศึกษาหรือสอบถามข้อมูลของระบบเดิมจากพนักงานผู้ใช้ระบบ หรือ ผู้ทดสอบระบบ
                3. จำลองแบบความต้องการที่รวบรวมได้เมื่อเรารวบรวมข้อมูลมาได้แล้วก็สามารถออกแบบจำลองดังกล่าวได้ด้วยวิธีการใดก็ได้ที่นักวิเคราะห์ระบบนำมาใช้ในการทำงานของระบบ


ขั้นตอนที่  4  การออกแบบเชิงตรรกะ
                 เป็นการออกแบบขั้นตอนการทำงานของระบบในแต่ละส่วนงานหรือแต่ละแผนกของงาน  ซึ่งในการออกแบบระบบระบบงานที่ได้ในแต่ละงานจะไม่เหมือนกันซึ่งอาจจะมีแบบฟอร์มหรือผลลัพธ์ที่ได้เมื่อเราวิเคราะห์ระบบงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว



ขั้นตอนที่  5  การออกแบบเชิงกายภาพ
                ในขั้นตอนนี้เป็นการทำงานของระบบในส่วนของเทคนิคของโปรแกรมหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงระบบอาจจะเป็นระบบเครือข่าย  ฐานข้อมูล  โปรแกรมสำเร็จรูป  เพื่อให้ผู้ใช้งานระบบสามารถเข้าใจขั้นตอนการทำงานมากขึ้น และมีความรวดเร็ว  ซึ่งสิ่งที่ได้ในส่วนนี้จะเป็นแค่การออกแบบหลังจากนั้นจะทำการส่งให้โปรแกรมเมอร์ต่อไป




ขั้นตอนที่   6   การพัฒนาและติดตั้งระบบ

          ขั้นตอนนี้จะนำข้อมูลเฉพาะในส่วนที่ต้องการออกแบบของระบบมาทำการเขียนโปรแกรม  เพื่อให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่ต้องการของระบบงานใหม่  อาจนำโปรแกรมที่เขียนสำเร็จรูปแล้วมาใช้งานในระบบก็ได้ หรือจัดทำโปรแกรมขึ้นมาเอง แต่อาจจะมีความยุ่งยากไปหน่อย  หลังจากเขียนโปรแกรมแล้วเราก็ควรทำการทดลองว่าโปรแกรมใช้งานได้เหมาะสมกับการทำงานของบริษัทหรือไม่  ซึ่งในขั้นตอนนี้มีกระบวนการทำงานดังนี้
                1. เขียนโปรแกรม
                2. ทดสอบโปรแกรม
                3. ติดตั้งระบบ
                4. จัดทำเอกสาร สรุปผลการทำงานของระบบ


 ขั้นตอนที่   7   การซ่อมบำรุงระบบ
                อาจจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการปรับปรุงระบบ  เพราะหลังจากได้ระบบใหม่มาแล้ว  เราก็นำเอาระบบที่ได้มานี้ทำการแก้ไขหากระบบที่ได้มาเกิดข้อผิดพลาด

แผนการดำเนินงานของโครงการพัฒนาระบบการคลัง มีดังต่อไปนี้

               1.ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการ
               2.ประมาณการใช้แหล่งทรัพยากร

               3.ประมาณการใช้งบประมาณ
               4.ประมาณระยะเวลาดำเนินงาน

1. ทีมงานรับผิดชอบโครงการ

                ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการที่จะได้รับมอบหมาย คือ บุคลากรแผนกคอมพิวเตอร์ทั้ง 3 คนจะดำรงตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ดังต่อไปนี้
                - นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ตลอดจนเก็บรวบรวมข้อมูลและติดต่อประสานงานระหว่างผู้ใช้กับทีมโปรแกรมเมอร์ จัดทำเอกสารของระบบ ทดสอบโปรแกรมของระบบ และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
               - โปรแกรมเมอร์ ทำหน้าที่ในการเขียนและติดตั้งโปรแกรมของระบบ รวมทั้งทดสอบโปรแกรมและพัฒนาตัวต้นแบบเพื่อสอบถามความคิดเห็นและผลการตอบรับจากผู้ใช้ระบบ

2. ประมาณการใช้แหล่งทรัพยากร
ปัจจุบันทางบริษัทใช้ระบบเครือข่าย LAN อยู่แล้วมีรายละเอียดต่อไปนี้
                1.เครื่องแม่ข่าย server จำนวน 1 เครื่อง
                2.เครื่องลูกข่าย (Workstation) จำนวน 25 เครื่อง
                3.เครื่องพิมพ์ (Printer) 10 เครื่อง

                4. อุปกรณ์ต่อพวง 10 ชุด (ตามความเหมาะสม)


สรุปแล้วงบประมาณที่ใช้พอสรุปในของแต่ละฝ่ายได้ดังนี้
1.ผู้จัดการ
ค่าตอบแทนสำหรับทีมงานพัฒนา
                นักวิเคราะห์และออกแบบระบบโปรแกรมเมอร์                          170,000  บาท
2.พนักงาน
                ฝึกอบรมพนักงานและผู้บริหาร 10 คน                                         1,200     บาท
                วันฝึกอบรมผู้ดูแลระบบ                                                                   1,000     บาท
3.จัดชื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์:
                เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็นworkstation                                     56,000  บาท     
                อื่นๆ                                                                                                    10,000  บาท

4.ค่าใช้จ่ายระหว่างดำเนินงาน

                ค่าบำรุงระบบ                                                                                  35,000    บาท

                จัดชื่อเก็บข้อมูลสำรอง                                                                    2,500      บาท

                รวม                                                                                                 275,700 บาท
รายงานสรุปผลสำหรับผู้บริหาร

           จากการที่ได้ศึกษาโครงการพัฒนาระบบพัสดุอาจจะส่งผลต่อการปฏิบัติงานของบริษัทพนักงาน และอาจจะส่งผลถึงความพึงพอใจของลูกค้าเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานในด้านการบริการและระบบสารสนเทศทางบริษัทจึงต้องจัดทำแผนพัฒนาระบบใหม่ขึ้น ทั้งนี้ทางทีมงานจึงได้พัฒนาระบบและได้ศึกษาความเป็นไปได้ทั้ง 3 ด้านของระบบนี้ประกอบด้วย ความเป็นไปได้ทางเทคนิค ความเป็นไปได้ทางการปฏิบัติงาน และความเป็นไปได้ทางด้านระยะการดำเนินงานจะเป็นข้อมูลไว้ช่วยสนับสนุนโดยนำมาใช้งานดังต่อไปนี้
1. ความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิค
                ทำการศึกษาทั้งทางด้าน Software และHardware ของระบบเดิม ปรากฏว่าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อบนเครือข่ายแบบ LAN Application ที่ใช้ได้แก่

- โปรแกรม Microsoft Office 2010
- โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่องานคลังสินค้า

2. ความเป็นไปได้ทางด้านการปฏิบัติงาน
                ทำการศึกษาทางด้านการปฏิบัติงานของผู้ใช้กับระบบใหม่ที่จะนำมาใช้ จากการสอบถามข้อมูลพบว่า ระบบใหม่มีความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการบริหารงานบุคคลที่มีอยู่เดิม ทั้งยังสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ ซึ่งช่วยลดปัญหาการนำข้อมูลที่ไม่ถูกต้องไปใช้งานได้ และลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อนลงได้
3. ความเป็นไปได้ทางด้านระยะเวลา
                ระยะเวลาในการดำเนินงานของโครงการพัฒนาระบบ ใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 3 เดือน

ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง เดือนมีนาคม 2557 ในการดำเนินงานพัฒนาระบบของบริษัท

ขั้นตอนที่ 3
การกำหนดความต้องการของระบบ
เมื่อโครงการพัฒนา ระบบการคลัง ได้รับการอนุมัติจากการนำเสนอโครงการในขั้นตอนที่ผ่านมา ดังนั้น จึงเริ่มต้นด้วยความการเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบเดิม ความต้องการในระบบใหม่ ความต้องการในระบบใหม่ที่รวบรวมมาได้ คือ
· สามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ รายการสินค้า และตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวได้
· สามารถเรียกดูข้อมูลสินค้าในคลังได้
· สามารถเพิ่ม แก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูลได้
· สามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
· ความรวดเร็วของระบบใหม่ในการทำงาน

ขั้นตอนที่ 4
แบบจาลองขั้นตอนการทางานของระบบ
  จาการวิเคราะห์ความต้องการระบบใหม่ที่รวบรวมมาได้จากผู้ใช้ระบบ โดยสามารถจำลองได้ด้วยแผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram) ดังนี้

ระบบคลังสินค้า

อธิบาย Context Diagram คลังสินค้า
เริ่มแรก การเข้าใช้โปรแกรม โดย ที่ จะต้อง ทำการ Login ใช้งานระบบก่อน Context Diagramo นี้จะเป็นการทำงานที่เกี่ยวข้องกับพนักงานและผู้จัดการฝ่ายการคลัง โดยที่
พนักงาน พนักงานคลังจะป้อนข้อมูลต่างๆให้กับระบบคลังสินค้า คือ
1.เพิ่มข้อมูล สินค้า
2.ลบ ข้อมูลสินค้า
3.แก้ไข ข้อมูลสินค้า เมื่อ มีการ เพิ่ม ลบ แก้ไข ข้อมูล เข้าสู่ระบบ คลังสินค้า ระบบก็จะมีการยืนยันบอกกลับมาที่พนักงาน
4.เรียกดูข้อมูลสินค้าในคลัง พนักงานสามารถเรียกดูข้อมูลสินค้าในคลังได้และ สามารถ ดูรายละเอียดของสินค้าแต่ละชิ้นได้ เช่น ชื่อ ราคา ประเภท และจำนวนที่มี
5. เพิ่มข้อมูลการนำสินค้า เก็บเข้าคลัง เมื่อพนักงาน ทำการเพิ่มข้อมูลการนาสินค้า เก็บเข้าคลังระบบคลังสินค้า ก็จะมีการทารายงานรายงานข้อมูลการนาสินค้า เก็บเข้าคลังกลับมาให้พนักงาน
6.เพิ่มข้อมูลการเบิกสินค้า ออกจากคลัง เมื่อพนักงาน ทาการเพิ่มข้อมูลการเบิกสินค้าออกจากคลังระบบคลังสินค้าจะทาการ ทาใบเบิกสินค้าออกจากคลังมาให้ที่พนักงาน
ผู้จัดการฝ่ายการคลัง ผู้จัดการฝ่ายการคลัง ผู้จัดการจะไม่ใช่คนที่ เพิ่มข้อมูลแต่จะเป็นผู้ที่เรียกดูข้อมูล ที่ พนักงานได้ทาการเพิ่มลบแก้ไขข้อมูลต่าง คือ
1.เรียกดู ข้อมูลการนำสินค้า เก็บเข้าคลัง
2.เรียกดู ข้อมูลจำนวนสินค้าทั้งหมดในคลัง
3.เรียกดูข้อมูลการ เบิกสินค้าออกจากคลัง














อธิบาย Dataflow Diagram Level 0 จาก Context Diagram สามารถแบ่งขั้นตอนการทำงานภายในระบบออกเป็น 4 ระบบ ดังนั้นจึงแยก Process ที่เกี่ยวข้องกับระบบ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
Process 1.0 เป็นระบบการเข้าใช้งานระบบโดยที่จะต้องLogin เข้าใช้งานระบบก่อนจึงเข้าไปใช้งานระบบอื่นๆได้
Process 2.0 ระบบ เพิ่ม ลบ แก้ไข ข้อมูลสินค้า เป็นระบบจัดการเกี่ยวกับสินค้าทั้งหมด สามารถอธิบายข้อมูลเข้าและออกจาก Process ดังนี้ เมื่อ พนักงานคลัง ทำการ เพิ่ม ลบ แก้ไข ข้อมูลสินค้าโดยที่ กรอกข้อมูลเข้าระบบ เมื่อ มีข้อมูลเข้ามาที่ระบบ ระบบจะทำการนาข้อมูลที่ได้รับไปบันทึกที่แฟ้มข้อมูล ของ ข้อมูลสินค้า แล้วระบบก็จะทำการส่งการยืนยันการเพิ่มข้อมูลสินค้ากลับมาที่พนักงาน และ ถ้า พนักงานต้องการแก้ไข ข้อมูลสินค้า จะต้องเรียกดุข้อมูลที่ต้องการแก้ไขก่อนแล้วจึงทำการแก้ไขได้จากนั้นระบบจะทาการบันทึกการแก้ไขพร้อมกับส่งการยืนยันการแก้ไขข้อมูลกลับมาที่พนักงาน
Process 3.0 ระบบ เพิ่มข้อมูลการนาสินค้าเก็บเข้าคลัง เป็นระบบที่ ทำหน้าที่ เก็บข้อมูลการนำสินค้าเข้าเก็บในคลังสินค้าซึ่งระบบจะทำงานโดย ที่ พนักงาน เพิ่มข้อมูล การนาสินค้าเข้าเก็บในคลังสินค้า ว่ามี สินค้าอะไรบ้างประเภทอะไรบ้าง จำนวนเท่าไร ระบบจะนำข้อมูลไปจัดเก็บเข้าแฟ้มข้อมูล ของ ข้อมูลการนำสินค้าเก็บเข้าคลังแล้ว ระบบจะทำการส่ง รายงาน ข้อมูลการนำสนค้าเข้าเก็บในคลัง
  
Process 4.0 ระบบ เพิ่มข้อมูลการเบิกสินค้าออกจากคลัง เป็น ระบบหน้าที่ในการ ออกใบเบิกสินค้าออกจากคลังโดย ที่ให้พนักงาน ทำการเพิ่มข้อมูลสินค้าที่ต้องการเบิก ลงในระบบการเพิ่มข้อมูลการเบิกสินค้าออกจากคลัง แล้วระบบ จะทำการบันทึก ข้อมูลในแฟ้มข้อมูล จากนั้นระบบจะทำการ ออกใบเบิกสินค้าให้ กับพนักงาน
Process 5.0 ระบบสรุปข้อมูลทั้งหมด เป็นระบบที่ เหมือนกับการ ทำรายงาน สรุป ข้อมูลต่าง โดย ต้องเรียกดูข้อมูลจากระบบ ระบบจะดึกข้อมูล จากแฟ้มข้อมูล มาแสดง และ สามารถทำรายงานสรุป ข้อมูลต่างๆได้



Data flow Diagram Level 1 of Process 2.0 ระบบ เพิ่ม ลบ แก้ไข ข้อมูลสินค้า

Data flow Diagram Level 1 of Process 3.0 ระบบ เพิ่มข้อมูลการนาสินค้าเก็บเข้า
Data flow Diagram Level 1 of Process 4.0 ระบบ เพิ่มข้อมูลการเบิกสินค้าออกจากคลัง

Data flow Diagram Level 1 of Process 5.0 ระบบสรุปข้อมูลทั้งหมด



อธิบาย Data flow Diagram Level 1 

Process 1.1 เป็นการรับข้อมูลเข้ามาตรวจเช็คกับฐานข้อมูลว่าตรงกันหรือไม่เพื่อเป็นการป้องกันการแอบอ้างการเข้าใช้งานระบบ

Process 1.2 เมื่อเกิดการผิดพลาด ระบบจะแจ้งกลับ ว่า การเข้าระบบผิดพลาดจะไม่สามารถเข้าใช้งานระบบได้
Process 1.3 เมื่อมีการเข้าใช้งานระบบสำเร็จ ระบบจะทำการแจ้งกลับ ว่า เข้าระบบสำเร็จแล้วก็จะเริ่มใช้งานระบบต่างๆที่มีได้
Process 2.1 ได้รับข้อมูลการเพิ่มสินค้าจากพนักงาน จะนำข้อมูลไปบันทึกลงในแฟ้มข้อมูลสินค้า และจะส่งการยืนยันการเพิ่มข้อมูลกลับไปให้พนักงาน
Process 2.2 เมื่อมีการเรียกดูข้อมูล จากพนักงาน Process 1.2 จะทำการเรียกดูข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลสินค้ามาแสดงให้พนักงานและจะส่งต่อให้ Process ถัดไป
Process 2.3 เมื่อมีการเรียกดูข้อมูลผ่าน Process 1.2 แล้วพนักงานสามารถ แก้ไขข้อมูลที่แสดงขึ้นมาได้ Process 1.3จะทาการส่งข้อมูลที่ถูกแก้ไขไปบันทึกทับข้อมูลเดิมที่แฟ้มข้อมูลสินค้า
Process 2.4 เมื่อมีการเรียกดูข้อมูลผ่าน Process 1.2 แล้วพนักงานสามารถ ลบข้อมูลที่แสดงขึ้นมาได้ Process 1.4 จะทำการลบข้อมูลที่ถูกเลือกออกจากแฟ้มข้อมูลสินค้า
Process 3.1 เมื่อได้รับการเพิ่มข้อมูลการนำสินค้าเข้าเก็บที่คลัง Process 2.1 จะทาการ เพิ่มข้อมูลกานำสินค้าเข้าคลัง ลงแฟ้มข้อมูล
Process 3.2 เมื่อมีการเพิ่มข้อมูลจาก Process 2.1 แล้วเก็บบันทึกข้อมูลลงในแฟ้มข้อมูล Process 2.2 จะทำการนำข้อมูลที่ถูกบันทึก มาพิมพ์รายงานส่งกลับไปให้กับ พนักงาน
Process 4.1 เมื่อมีการเพิ่มข้อมูลการเบิกสินค้าออกจากคลัง Process 3.1 จะทำการนาข้อมูลที่ไดรับมาไปบันทึกลงในแฟ้มข้อมูลการเบิกสินค้าอกจากคลัง
Process 4.2 เมื่อมีการเพิ่มข้อมูลจาก Process 3.1 แล้วเก็บบันทึกข้อมูลลงในแฟ้มข้อมูล Process 3.2 จะทำการนำข้อมูลที่ถูกบันทึก มาพิมพ์ใบเบิกสินค้าส่งกลับไปให้พนักงาน
Process 5.1 จะทำการเรียกข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลทั้งหมด ออกมาแสดงเมื่อมีการเรียกดูข้อมูลจากแฟ้มProcess 5.2 จะทาการพิมพ์รายงานสรุปข้อมูลต่างๆที่ถูกเรียกดูออกมาจากแฟ้มข้อมูลให้กับผู้จักการฝ่ายการคลัง 

โครงสร้างฐานข้อมูล ระบบคลังสินค้า ได้มีการจัดการสร้างตารางเพื่อสร้างความสัมพันธ์กันของข้อมูล โดยมีตารางดังต่อไปนี้
ตาราง User_stock ใช้จัดเก็บ ข้อมูลผู้ใช้งานระบบ โดยจะ ใช้ในการตรวจสอบของ Process Login


ตาราง Product ใช้จัดเก็บข้อมูลสินค้า


ตาราง Product_type ใช้จัดเก็บข้อมูลประเภทสินค้า


ตาราง Picking ใช้จัดเก็บข้อมูลการเบิกสินค้า


ขั้นตอนที่ 5
การออกแบบ User Interface


1. หน้า เข้า สู่ระบบ


2.หน้า เมนูหลัก
เมื่อเข้าล็อกอินสำเร็จก็จะเข้ามาที่หน้าเมนูหลัก จะมี ปุ่มเมนูเลือกการทางานของโปรแกรม และ สามารถ ออกจาก โปรแกรมได้โดยการกด ปุ่ม logout



3.หน้าตาโปรแกรมเพิ่ม ลบ แก้ไข
หน้าตาโปรแกรมที่สามารถทาการ เพิ่ม ลบ แก้ไข ข้อมูลสินค้า ได้ โดยการกด ปุ่ม เพิ่ม ปุ่มลบ และปุ่มแก้ไข โดยข้อมูลที่เพิ่มจะ ต้องมี ชื่อสินค้า ราคา สินค้า จานวนสินค้า ประเภทสินค้า สารมารถ กด ปุ่ม พิมพ์เอกสาร เพื่อทาการพิมพ์เอกสารออกมา


ขั้นที่ 6
การพัฒนาและติดตั้งระบบระบบ
ทีมงานได้จัดทำเอกสารคู่มือการใช้งานโปรแกรมของระบบคลังสินค้า เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ระบบสามารถเข้าใจการทำงานของโปรแกรมมากยิ่งขึ้น โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ แนะนำ โปรแกรมระบบรายรับ-รายจ่าย
โปรแกรมระบบคลังสินค้า เป็นโปรแกรมที่ทาซึ่งประกอบด้วยระบบย่อยทั้งหมด 4 ระบบ ได้แก่
1.ระบบการเพิ่ม ลบ แก้ไข ข้อมูลสินค้า ของบริษัท สามารถเพิ่ม ลบ แก้ไข บันทึกข้อมูลของสินค้าในคลังได้
2.ระบบการเพิ่มข้อมูลการเพิ่มสินค้าในคลัง เพื่อเก็บข้อมุลการนำสินค้าเข้าเก็บในคลังจะทำให้ทราบถึงยอดการมีอยู่ของสินค้าในคลังว่ามีจำนวนเท่าไหร่
3.ระบบการเบิกสินค้า เป็นระบบที่จะออกใบเบิกสินค้าให้กับพนักงาน โดย การเพิ่มข้อมูลลงในระบบ จะทำการพิมพ์ใบเบิกสินค้าให้กับพนักงานและจัดเก็บข้อมูลการเบิกสินค้าลงฐานข้อมูล
4.ระบบสรุปรายงานเป็นระบบที่สามารถเรียกดูข้อมูลทั้งหมด ในระบบ และ สามารถ สั่งพิมพ์รายงานออกมาในรูปแบบรายงานการติดตั้งระบบ ทีมงานเลือกที่จะติดตั้งระบบแบบ ขนาน คือการใช้ระบบใหม่ และ ระบบเก่า ไป พร้อมๆ กัน เพราะ ทีมงานที่พัฒนาระบบได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดาเนินงาน เพราะ ถ้าหาวางระบบใหม่ทั้งหมดทีเดียว อาจทำให้การดำเนินงานเกิด การขัดข้องได้ จึงเลือกที่จะติดตั้งระบบแบบ ขนาน


ขั้นที่ 7
การซ่อมบำรุง
การซ่อมบำรุงนั้นจะขึ้นอยู่กับผู้พัฒนาระบบว่าระบบนั้นมีปัญหาอะไรบ้างจะอยู่ในความดูแลของผู้พัฒนาระบบมีการดูแลระบบอย่างต่อเนื่องเมื่อระบบมีปัญหาทางผู้พัฒนาระบบจะทำการซ้อมแซมระบบอย่างรวดเร็วหลังเกิดปัญหา




















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เขียนเล่น